วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของระบบเครือข่าย


1. ความหมายของระบบเครือข่ายอินเทอรืเน็ต
ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับระบบเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ต
สาระสำคัญ
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จัดได้ว่าเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ที่ทำการเชื่อมต่อระบบ เข้ากันภายใต้มาตรฐานการสื่อสารของ (Protocol) เดียวกัน จนเกิดเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ทั่วโลก ในรูปแบบต่างๆ อันได้แก่ การแสดงผลของข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร รูปภาพ รวมไปถึง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปในลักษณะของมัลติมีเดียควบคู่การแสดงผลข้อมูลเพื่อ ให้เกิดความน่าสนใจและศึกษามากยิ่งขึ้น บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ มากมาย ซึ่งทำให้เกิดรูปแบบของบริการต่าง ๆ ตามมาเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ที่มีการเพิ่มของจำนวนการใช้งานเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน

2. ความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเทอรืเน็ต


ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเริ่มต้นมาจากผลของสงครามทางการเมืองในยุคสงครามเย็น เมื่อ พ.ศ. 2510 โดยมีฝ่ายคอมมิวนิสต์และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งมีสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตย และรัสเซียเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ ทั้งสองประเทศต่างคิดกลัวในเรื่องของขีปนาวุธนิวเคลียร์ที่จะเข้ามาถล่มจุด ยุทธศาสตร์ของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันนั้นเกิดความเสียหาย กระทรวงกกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจึงได้ริเริ่มโครงการวิจัยและพัฒนาเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2512 โดยให้ชื่อโครงการว่า ARPANET ( Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการวิจัยและเพื่อพัฒนาให้เกิดระบบเครือข่ายข้อมูลแบบ กระจายศูนย์ ซึ่งจะทำให้ได้รับความเสียหายน้อยที่สุดจากสงครามนิวเคลียร์ในระหว่าง การติดต่อสื่อสาร โดยระบบเครือข่ายนี้จะแตกต่างจากระบบทั่วไป ในด้านการสื่อสารนั้นสามารถ รับส่ง ข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้โดยมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์ หรือ สายสัญญาณในการส่ง ในแต่ละจุดจะเกิดความเสียหายหรือถูกทำลายไปบางส่วน ซึ่งในโครงการนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องนั้นจะเชื่อมโยงกันด้วย สายส่งข้อมูลที่แยกออกเป็นหลาย ๆ เส้น เปรียบเสมือนกับการประสานกันของร่างแห และเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องส่งสัญญาณไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่อง หนึ่ง ข้อมูลที่ส่งไปนั้นจะถูกแบ่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ ที่เรียกว่า Packet แล้ว ข้อมูลจะถูกทยอยส่งไปให้ปลายทางตามที่กำหนด โดยแต่ละชิ้นส่วนของข้อมูลนั้น อาจจะไปคนละเส้นทางแต่จะไปรวมกันที่ปลายทางตามลำดับที่ถูกต้อง แต่หากเกิดข้อผิดพลาดในระหว่างการเดินทางของข้อมูล ส่วนใดส่วนหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากข้อผิดพลาดทางด้านสัญญาณรบกวน สายส่งสัญญาณเกิดความเสียหาย หรือแม้กระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกทำลายระหว่างการส่งข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะส่งสัญญาณกลับมาแจ้งเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทาง ให้รับรู้ และจัดการส่งข้อมูลเฉพาะ ส่วนที่ขาดไปให้ใหม่โดยใช้เส้นทางอื่นแทน ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลนั้นไปถึงปลายทางอย่างแน่นอน

3. ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 ประเทศไทยได้ติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในลักษณะการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตหาดใหญ่ (PSU) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) การติดต่ออินเทอร์เน็ตของทั้ง 2 สถาบันเป็นการใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยความร่วมมือกับประเทศออสเตรียตามโครงการ IDP ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงเครือข่ายด้วยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่นั้นได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต sritrang.psu.th นับว่าเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย

พ.ศ.2534 บริษัท DEC(Thailand) ได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ในกิจการของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dec.co.th โดยที่ "th" เป็นส่วนที่เรียกว่าโดเมน(domain) ซึ่งเป็นส่วนแสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายและได้เช่าสาย "ลีสไลน์"(Leased Line) ซึ่งเป็นสายความเร็วสูงเพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย UUNET ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยีจำกัด(UUNET Technologies Co.,Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่มลรัฐเวอร์จิเนียประเทศสหรัฐอเมริกา การเชื่อมต่อในระยะเริ่มแรกโดย Leased Line ความเร็ว 9600 bps(bps : bit pes second )

นับเป็นปีที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาในประเทศไทยอย่างเต็มตัว

เครือข่ายโดยที่ตั้งชื่อว่า จุฬาเน็ต ( ChulaNet ) ได้ปรับปรุงด้วยความเร็วของ Leased Line จาก 9600 bps ไปเป็นความเร็ว 64 kbps และ 128 kbps ตามลำดับ และได้มีสถานศึกษาหลายแห่งได้ขอเชื่อมต่อเครือข่าย อินเตอร์เน็ตโดยผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ สถาบัน เอไอที ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล ( MU ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ( CMU ) สถานบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาลัยเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ( KMITL ) และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ( AU ) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า เครือข่ายไทยเน็ต (THAINET )

ปี พ.ศ.2535 เป็นปีเริ่มต้นของการจัดกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า เอ็นดับเบิลยูจี ( NWG : NECTEC E- mail Workking Group) โดยหน่วยงานของรัฐ คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ( NECTEC: National Electronic and Computer Technology Centre) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีเครือข่าย "ไทยสาร" ( ThaiSarn : Thai Social / Scientific and Research Network )

 

4. อินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกันได้อย่างไร

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต — Presentation Transcript

·         1. วิธีเข้าสู่โลกของอินเตอร์เน็ต ระบบเครื่องและอุปกรณ์ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ 2. อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย 3. โปรแกรมที่ใช้ในการเข้าสู่อินเตอร์เน็ต 4. สมัครเป็นสมาชิกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ISP) Username Password

·         2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต - ติดตั้งโมเด็ม เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิม - มีโทรศัพท์บ้าน - สมัครเป็นสมาชิกของ ISP ปรับระบบคอมพิวเตอร์ตามข้อกำหนดของ ISP ที่เป็นสมาชิก ( ใส่ UserName, Password) ที่บ้าน

·         3. โมเด็ม (MODEM) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ของเรา เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้ PCMCIA MODEM External MODEM Internal MODEM สัญญาณดิจิตอล สาย RS232 โมเด็ม โมเด็ม สายโทรศัพท์ สัญญาณดิจิตอล สาย RS232 สัญญาณอะนาลอก

5. ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ด้านการอ่าน บนอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการที่ทำให้สามารถทำการอ่านหนังสือ วารสารและนิตยสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้มีบริการทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ฯลฯ เช่น ComSaveving เป็นต้น

ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร็เน็ตนั้น มีบริการสามารถที่จะเข้าไปใช้บริการค้นหาข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เราสามารถที่จะเข้าไปค้นหา ข้อมูลที่เราสนใจใน Wold Wide Web หรือ WWW เช่นเข้าไปค้นหาข้อมูล อาจเป็นข้อมูลภาพและเสียง ฯลฯ ๆ อีกมากมาย

ประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการติดต่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ องค์การหรือหน่วยงานต่าง ๆ นิยมสร้างเว็บไซต์ (Web Site) บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับองค์การและบริการต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลของบริษัท

ประโยชน์ด้านการส่งคำอวยพร ในเทศการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการส่งการ์ดอวยพรและข้อมูลให้ผู้ใช้ โทรศัพท์มือถือ ผ่านระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ มีบริการส่งการ์ดอวยพร อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย หรือ การบริการฝากข้อความ บริการส่งเพลงให้ที่ต้องการส่งให้ คนที่รับข้อมูล

ประโยชน์ด้านข้อมูลข่าวสาร บนเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการอ่านข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากมุมต่าง ๆ ได้ทั่วโลกโดยผ่านเว็บไซต์ต่าง ที่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร เช่น CNN ตลอดจนหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศที่มีบริการข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว

ประโยชน์ด้านการสำรองข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่าง ๆ (Software Download) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งบริษัทผู้ผลิตมีไว้บริการ เช่น Microsoft, ฯลฯ ซึ่งในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีไว้บริการ ผู้ที่ต้องการดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อไปใช้งานก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลด เพื่อทำการศึกษาหาความรู้ที่ทันสมัย อยู่เสมอ

ประโยชน์ด้านการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการค้นหาข้อมูลจากห้องสมุด (Explore Libaries) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งในระบบเครือข่ายมีห้องสมุดออนไลน่ต่าง ไว้บริการเพื่อให้ผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลและบริการอ่านหนังสือใหม่ ๆ ที่มีในห้องสมุดต่าง ๆ

ประโยชน์ด้านการผ่อนคลาย บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการเล่นเกม (Play Games) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถใช้บริการเกมออนไลน์ เพื่อให้ความบันเทิง และการฝึกทักษะทางสมองซึ่งเกมออนไลน์ มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน เช่น เกมเพื่อการศึกษา ฯลฯ เกมส์เหล่านี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นการพัฒนาสมองของเด็กให้เร็วขึ้น และช่วยเสริมสร้างทักษะความคิดในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ด้วยหา ผู้เล่น

ประโยชน์ด้านการซื้อสินค้า บน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ (Shopping) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งจะมีระบบการซื้อขายสินค้าผ่านเครื่อง คอมพิวเตอร์ โดยผู้ที่ต้องการเข้าไปซื้อสินค้าในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นทำการ เลือกรายการสินค้าที่มีไว้บริการแล้วทำการสั่งจ่ายโดยใช้บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งจะทำให้การซื้อขายสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประโยชน์ด้านการความบันเทิง บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการดูโทรทัศน์และฟังเพลง (Watch TV. And Listen Music) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถดูโทรทัศน์ฟังวิทยุ หรือดูรายการถ่ายทอดสดของสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ

ประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีบริการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร (Exchange Message) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เราสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้ บริการอินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ ได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว

ประโยชน์ด้านการการสนทนา บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นมีบริการสนทนาออนไลน์ (Chat) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรวมทั้งบริการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail จะได้รับความนิยมมากในขณะนี้ จะทำให้ผู้ที่ใช้บริการ Chat สามารถที่จะพูดคุยกันได้โดยตรง เหมาะ สำหรับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว

ประโยชน์ด้านการเรียนทางไกล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการเรียนทางไกลบนอินเทอร์เน็ต (Distance Learning) ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันมหาวิทยาลัยต่าง ในประเทศ และต่างประเทศมีการใช้หลักสูตรการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต ทั้งในระดับประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยที่ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัย แต่สามารถทำการเรียนผ่านระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบออนไลน์เข้าสู่ อินเทอร์เน็ตโดยเข้าเรียนตามวันและเวลาที่ทำการเรียนการสอน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ การสอนภาษาอังกฤษ วิชาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ประโยชน์ด้านค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีบริการค้นหาที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งบนอินเทอร์เน็ตมีเว็บไซต์จำนวนมากที่ให้บริการค้นหาที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ของบุคคล องค์การ บริษัทต่าง ๆ เพียงแค่ป้อนข้อมูลของ บุคคลที่เราต้องการค้นหา เช่น ชื่อและนามสกุล ชื่อเมือง ชื่อรัฐ และประเทศ ลงในช่องที่กรอกข้อมูลก็สามารถที่จะทำการค้นหาได้

 

6. บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

 

บริการ ของ อินเตอร์เน็ต ได้แก่
1.
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้อง ส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2.
เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3.
การโอนถ่ายข้อมูล (FTP) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4.
การสืบค้นข้อมูล (เวิลด์ไวด์เว็บ, Gopher, Archie) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้
5.
การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (ยูสเน็ต) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์ เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6.
การสื่อสารด้วยข้อความ (แชท, ไออาร์ซี) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7.
การซื้อขายสินค้าและบริการ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8.
การให้ความบันเทิง บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

7. คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต

 

WebPage หมายถึง ข้อมูลที่เป็นอักษร เสียง และภาพต่างๆ ที่บรรจุในแฟ้มเอกสารแต่ละหน้าของเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ที่เปิดอ่านจากโปรแกรม Browser

Web site
หมายถึง สถานที่ที่ WebPage อาศัยอยู่ โดยเข้าถึงด้วยชื่อ Domain Name เช่น www.swry.ac.th (เว็บไซด์ สว.รย.)

HomePage
หมายถึง WebPage ที่อยู่หน้าแรกของ Web site ที่ใช้แฟ้มว่า index.html หรือ index.htm เสมอ

Web Browser
โปรแกรมใช้ในการเข้าไปยังเว็บไซด์ต่างๆ ในโลก World Wide Web ของอินเทอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator, Internet Explorer

Domain Name
หมายถึงชื่อที่ใช้ประกาศความเป็นตัวตนบนโลกอินเทอร์เน็ต ถ้าชื่อลงท้ายด้วย .com ต้องมีการจดทะเบียนที่ www.internic.com แต่ถ้าเป็นพวก .co.th การจดทะเบียนที่ www.thnic.co.th

URL(Uniform Resouire Locator)
หมายถึง ที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูล

IP (Internet Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการสื่อสารแบบ TCP

TCP/IP (Transport Control Protocol/Internet Protocol)
เป็น Protocol ตามมาตรฐานอตุสาหกรรมในการติดต่อสื่อสาร ทำให้ระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้

Protocol
เป็นกฏระเบียบและข้อตกลงที่สถาบันต่างๆ กำหนดขึ้นมาเพื่อรองรับการสื่อสารระหว่างเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สามารถสื่อสารและเข้าใจพูดคุยกันได้ เช่นที่นิยมใช้คือ TCP/IP เป็นต้น

ISP (Internet Service Provider)
คือผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ASP (Application Service Provider)
คือผู้ให้บริการ Software หรือวิธีการใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องมี Software ของผู้ใช้เอง

IDC (Internet Data Center)
คือผู้ให้บริการรับฝากเครื่อง Server และตระเตรียมสาธารณูปโภคในการทำธุรกรรมให้พร้อมสรรพ

E-Commerce (Elertronic Commerce)
คือการทำธุรกรรม อะไรก็ได้โดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

Hypertext
คือเอกสารที่ทำการเชื่อมโยงต่อไปยังเอกสารอื่นๆ ทำให้สามารถอ่านได้หลายมิติ

Download
คือการย้ายข้อมูลของคอมพิวเตอร์ที่ไกลออกไปมาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ท้อง ถิ่น (Local) โดยทั่วไปหมายถึง การรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป มาเครื่องอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่องที่เรากำลังใช้งานอยู่ ซึ่งตรงข้ามกับ Upload

Upload
เป็นการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ห่างไกลออกไป

POP (Post Office Protocal)
ระบบที่ทำให้สามารถรับและดาว์นโหลด จดหมายจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไปยังคอมพิวเตอร์ของเราเอง

Internet Address
คือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต จะประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (User Name) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) โดยมีรูปแบบ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้@ชื่ออินเทอร์เน็ต
ตัวอย่าง เช่น webmaster@datatan.net หมายถึงผู้ใช้ชื่อ webmaster เป็นสมาชิกของศูนย์บริการหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชื่อว่า datatan.net

IP Address
คือหมายเลขรหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเลขนี้จะมีรหัสซ้ำกันไม่ได้ IP Address ประกอบไปด้วยตัวเลข 4 หลักที่คั่นด้วย เครื่องจุด (.) ตัวอย่างเช่น 203.155.35.2 เป็น IP Address ของเครื่อง internet.th.com

Mailing List
คือ กลุ่มสนทนาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้โปรแกรม E-mail ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเข้าร่วม Mailing List โดยสมัครสมาชิกแล้วจดหมายทุกฉบับที่ถูกส่งไปยัง List ก็จะถูกส่งไปให้ทุกคน ที่อยู่ใน List ได้อ่านกัน